top of page
S__1155080.jpg
aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL3RyLzAvdWQv

ภาพจิตรกรรมหรือ"ฮูบแต้ม"ในวัดภูมินทร์เป็นชาดกในพุทธศาสนาแต่ถ้าพิจารณารายละเอียดของวิถีชีวิตของคนเมืองในสมัยนั้นบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติ

ศิลปวัฒนธรรมประเพณีและวิถีชีวิตของชาวน่านในช่วงสมัยต้นรัตนโกสินทร์ไว้ได้อย่างสมบูรณ์จนได้รับการขนานนามว่าเป็น"สุดยอดของภาพจิตรกรรมฝาผนัง

ล้านนา" มีภาพที่น่าสนใจอยู่หลายภาพ

ปู่ม่านย่าม่าน

“คำฮักน้อง กูปี้จักเอาไว้ในน้ำก็กลัวหนาว

จักเอาไว้พื้นอากาศกลางหาว ก็กลัวหมอกเหมยซอนดาวลงมาคะลุมจักเอาไปใส่ในวังข่วงคุ้ม

ก็กลัวเจ้าปะใส่แล้วลู่เอาไปก็เลยเอาไว้ในอกในใจตัวชายปี้นี้ จักหื้อมันไห้อะฮิอะฮี้ยามปี้นอน

สะดุ้งตื่นเววา…”

01

01

ความรักของน้องนั้น พี่จะเอาฝากไว้ในน้ำก็กลัวเหน็บหนาวจะฝากไว้กลางท้องฟ้าอากาศกลางหาว ก็กลัวเมฆหมอกมาปกคลุมรักของพี่ไปเสียหากเอาไว้ในวังในคุ้ม เจ้าเมืองมาเจอก็จะแย่งความรักของพี่ไปเลยขอฝากเอาไว้ในอกในใจของพี่ จะให้มันร้องไห้รำพี้รำพันถึงน้องไม่ว่ายามพี่นอนหลับหรือสะดุ้งตื่น

 เขาเรียกผู้ชายพม่าผู้หญิงพม่าคู่นี้เป็นนัยเป็นสามีภรรยาแล้วการเกาะไหล่กันเป็นธรรมชาติของผู้ชายผู้หญิงที่เป็นสามีภรรยาถ้าเป็นหนุ่มสาวถูกเนื้อต้องตัวไม่ได้และรูปลักษณะการแต่งกายชี้ชัดไปอีกสอดคล้องกับคำว่า

ปู่ม่านย่าม่านม่านคือพม่าปู่นี่คือผู้ชายพ้นวัยเด็กผู้ชายเรียกปู่พ้นวัยเด็ก

ผู้หญิงเรียกย่า ซึ่งที่จริงออกเสียง"ง่า"ไม่ใช่ปู่ย่าตายาย

S__5619755.jpg

02

ภาพธรรมเนียมการอยู่ข่วงของชาวไทลื้อ

พ่อแม่จะอนุญาตให้หนุ่มสาวพบปะกันที่ชานบ้านในเวลาค่ำขณะหญิงสาวกำลังบนฝ่ายหรือ"อยู่ข่วง"หากสาวเจ้าตกลงปลงใจด้วยก็จะจัดพิธีแต่งงานหรือที่เรียกว่า"เอาคำไปป้องกั๋น"หรือเป็นทองแผ่นเดียวกับการค้าขายแลกเปลี่ยนในชุมชน ภาพชาวพื้นเมืองซึ่งอาจเป็นชาวเขา "เป๊อะ"

ของบนศีรษะเพื่อนำมาแลกเปลี่ยนกัน

03

หญิงสาวกำลังทอผ้าด้วยกี่พื้น เมืองนอกชานมีเรือนเล็กๆ ตั้งหม้อน้ำดินผาที่เรียกว่า"ร้านน้ำ"ส่วนชายหนุ่มไว้ผมทรงหลักแจว หรือ ทรงมหาดไทยแสดงให้เห็นอิทธิพลตะวันตกที่เข้ามา ผสมผสานในวิถีพื้นเมืองน่าน ภาพชาวต่างประเทศ ที่เข้ามาเมืองน่าน ช่วงรัชกาลที่ 5 ทรงผม และเครื่องแต่งกายของผู้หญิงเป็นรูปแบบเดียวกับที่กำลัง เป็นที่นิยมในยุโรปขณะนั้น

ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเมืองน่าน

04

บรรยากาศวิถีชีวิตชาวเมืองน่านในช่วงรัชกาลที่ 5

 เป็นอีกภาพที่น่าสนใจครับ แม้ว่าในช่วงนั้นวัฒนธรรมตะวันตกเริ่มเป็นที่นิยมในบางกอกแล้ว แต่วิถีชีวิตของคนเมืองน่านยังคงรักษขนบธรรมเนียมประเพณีของตน ชีวิตความเป็นอยู่และบ้านเรือนยังคงสภาพความเป็นชนบทสมบูรณ์แบบ โดยหญิงสาวกำลังเรียนทอผ้า ส่วนเจ้าหนุ่มเอาผ้าคล้องคอชายไปข้างหลังไว้ผมทรงหลักแจวทำท่าแอ๊วอยู่ใกล้ๆที่นอกชานเด็กๆ

กำลังเล่นสนุกกัน

05

สะพานไม้สีแดง

ภาพเจ้าคัทธณะกุมาร เดินนำนายไผ่ร้อยกอ และนายเกวียนร้อยเล่มออกจากเมือง ภาพลักษณะสะพานไม้ที่สร้างด้วยภูมิปัญญาของคนที่ใช้เรือในการสัญจรลอดผ่าน

06

ภาพฝรั่งไม่ทราบสัญชาติ

    กำลังขนสัมภาระจากเรือกลไฟไปขึ้นฝั่งที่เต็มไปด้วยตึกรามบ้านช่องแบบเมืองท่าบางกอกเป็นการสอดแทรกภาพเล่าเรื่องเหตุการณ์ในสมัยนั้นแทรกในชาดกให้ดูสมจริง 

aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL3RyLzAvdWQv

07

น่านในสังคมสมัย

    สะท้อนและแสดงออกถึงการแต่งกายในยุคนั้นได้ชัดเจน ภาพเขียนทั้งสองมีลักษณะเล็กกว่าคนจริงเล็กน้อย หญิงนั่งหย่อนขานุ่งผ้าซิ่นน้ำไหลตีนจก

คีบบุหรี่ขี้โย สวมเครื่องประดับปิ่นปักผม และกำไลข้อมือ ส่วนชายไว้ผมทรงมหาดไทยทัดดอกไม้ประดิษฐ์ที่ติ่งหู สวมเสื้อคอจีนมีฉาบปก นุ่งผ้าลายลุนตะยาแบบพม่าปิดทับขาสักยันต์ เหน็บมีดสั้นยืนคาบบุหรี่ขี้โย

08

แม่หญิงไปกาด

เป็นภาพหญิงชายที่ข่วงนอกเมือง

การแต่งกายแบบชาวน่านและสะท้อนถึงความเป็นอยู่ในยุคนั้นได้อย่างชัดเจน

bottom of page