top of page

ประวัติศาสตร์เมืองน่าน

   นามเมือง เมืองน่าน มีที่มาของชื่อปรากฎในตำนานพระอัมภาคว่า "นันทสุวรรณนคร" ส่วนในหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ เรียกเมืองน่านว่า "กาวราชนคร"นัยว่าเป็นแค้วนของกาว อันหมายถึง ชนชาติที่อาศัยอยู่ในแคว้นน่านแต่ดึกดำบรรพ์ และในตำนานเก่าๆ เรียกเมืองน่านอีกคำหนึ่งว่า "กาวน่าน"

ต่อมามีการเรียกชื่อเมืองน่านว่า "นันทบุรี" หรือ "นันทบุรีศรีนครน่าน" เข้าใจว่า เป็นยุคสมัยที่พระพุทธศาสนา และภาษาบาลีเพื่องฟูในล้านนา ที่มาของชื่อเมืองน่าน มาจากชื่อแม่น้ำน่าน อันเป็นที่ตั้ง ของเมืองที่อยู่บนสองฟากแม่น้ำน่าน ชื่อของเมืองน่านได้ปรากฎในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง เรียกว่า เมืองน่าน คือ ตั้งแต่แรกตั้งเมืองใหม่ ณ ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่าน เมืองน่าน แม้จะมีการเรียกชื่อใหม่ว่า "นันทบุรี" หรือ "นันทบุรีศรีนครน่าน" ซึ่งใช้กันในทางราชการในสมัยโบราณและศุภอักษรนามนันทบุรี นามที่ไพเราะ และมีความหมายมงคลนาม แต่ก็มีหลายพยางค์และเรียกยาก จึงกลับมานิยมเรียก นามเมืองตามเดิมว่า "เมืองน่าน" ตลอดจนถึงปัจจุบัน

อาณาเขตโดยรอบของจังหวัดน่าน

ทิศเหนือ ประกอบด้วย อำเภอเชียงกลาง อำเภอปัว มีอำเภอทุ่งช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอบ่อเกลือ ที่มีพื้นที่ติดต่อกับเขตเศรษฐกิจพิเศษ เชียงฮ่อน - หงสา (สปป.ลาว)

ทิศตะวันออก ประกอบด้วย อำเภอภูเพียง อำเภอสันติสุข โดยมีอำเภอแม่จริม อำเภอเวียงสา มีพื้นที่ติดต่อกับแขวงไชยบุรี

(สปป.ลาว)

ทิศใต้ ประกอบด้วย อำเภอนาน้อย อำเภอนาหมื่น มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดอุตรดิตต์ อำเภอนาน้อย มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดแพร่ อำเภอเวียงสา มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดแพร่

ทิศตะวันตก ประกับด้วย อำเภอบ้านหลวง มีพื้นที่ติดต่อกับอำเภอเชียงม่วนจังหวัดพะเยา อำเภอท่าวังผา มีพื้นที่ติดกับอำเภอปง จังหวัดพะเยา อำเภอสองแคว มีพื้นที่ติดต่อกับอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา

ทิศเหนือและทิศตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

(สปป.ลาว) เป็นระยะทางยาวประมาณ 227 กม.

bottom of page